คำนมัสการคุณานุคุณ
เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร)
มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย
ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๑.
ความเป็นมา
คำนมัสการคุณานุคุณที่คัดมาให้ศึกษามีเนื้อหาแบ่งออกเป็น
๕ ตอน แต่ละตอนมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า,
เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
คำนมัสการพระธรรมคุณ :สวาก ขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ
คำนมัสการพระสังฆคุณ : สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง
นะมามิ
คำนมัสการมาตาปิตุคุณ :
มารดาทั้งสองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณอันหาที่สุดมิได้
ข้าพเจ้าขอไหว่เท้าทั้งสองของมารดาบิดาของข้าพเจ้าด้วยความเคารพอย่างสูง
คำนมัสการพระอาจริยคุณ :
ครูอาจารย์ผู้ใหญ่และผู้น้อยทั้งหลายล้วนเป็นผู้มีพระคุณอันประเสริฐยิ่ง
ได้อบรมสั่งสอนให้ศิษย์มีวิชาความรู้ ได้ให้โอวาทตักเตือนด้วยเมตตาธรรม
ข้าพเจ้าขอกราบไว้คุณครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ
๒.
ประวัติผู้แต่ง
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารกูร)
เป็นนักปราชญ์คนสำคัญของไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้รอบรู้ในวิชาภาษาไทยและได้ชื่อว่าเป็นข้าราชการที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
ทั้งยังเป็นครูที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม อุทิศชีวิตเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติอีกด้วย
๓.
ลักษณะคำประพันธ์
คำนมัสการคุณานุคุณแต่ละตอนแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทต่างๆดังนี้
๓.๑
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่นำมาแต่งคำนมัสการคุณานุคุณ มาตาปิตุคุณ
และอาจริยคุณ มีลักษณะบังคับ ดังแผนผังต่อไปนี้
๓.๒
กาพย์ฉบัง ๑๖
กาพย์ฉบัง ๑๖
เป็นกาพย์ที่นำมาแต่งคำนมัสการพระธรรมคุณและพระสังฆคุณมีลักษณะบังคับ
ดังแผนผังต่อไปนี้
๔. เนื้อเรื่อง
คำนมัสการพระธรรมคุณ
กาพย์ฉบัง ๑๖
คำนมัสการพระสังฆคุณ
กาพย์ฉบัง ๑๖
คำนมัสการมาตาปิตุคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ข้าขอนบชนกคุณ
ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน
ผดุงจวบเจริญวัย
ฟูมฟักทะนุถนอม บ บำราศนิราไกล
แสนยากเท่าไรไร บ
คิดยากลำบากกาย
ตรากทนระคนทุกข์
ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
ปกป้องซึ่งอันตราย
จนได้รอดเป็นกายา
เปรียบหนักชนกคุณ
ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา
ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
เหลือที่จะแทนทด
จะสนองคุณานันต์
แท้บูชไนยอัน
อุดมเลิศประเสริฐคุณ
คำนมัสการอาจริยคุณ
บทวิเคราะห์
คุณค่าด้านเนื้อหา
๑.
คำนมัสการพระคุณ มีเนื้อหาสำคัญคือ การสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า
๒.
คำนมัสการพระธรรมคุณ พระธรรมคือ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
๓.
คำนมัสการพระสังฆคุณ
ถ้าพรพุทธองค์ไม่ได้ทรงสถาปนาคณะสงฆ์ขึ้นหลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบย่อมสูญสิ้นไปพร้อมกับเสด็จดับขันธ์ปรินิพาน
๔.
คำนมัสการมาตาปิตุคุณ มารดาบิดาเป็นผู้มีพระคุณก่เราเพราเป็ผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูเราโดยไม่หวังผลตอบแทน
๕.
คำนมัสการอาจริยคุณ
เนื่องด้วยครูอาจารย์เป็นผู้มีพระคุณแก่เราเพราะเป็นผู้อบรมสั่งสอนและถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เรา
คุณค่าด้านกลวิธีการแต่ง
๑.
การเลือกสรรคำเหมาะกับเนื้อเรื่อง
กวีเลือกสรรถ้อยคำนำมาใช้ได้อย่างไพเราะเหมาะสม
๒.
การเลือกสรรคำที่มีเสียงเสนาะ กวีใช้ความงามและเสียงเสนาะในการอ่าน
นอกเสียงโดยการใช้สัมผัสอักษรละสัมผัสสระ ได้แก่ สัมผัส การเล่นคำ
๓.
ภาพพจน์ กวีใช้การเปรียบเทียบแบบอุปมาเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจนขึ้น
เมื่อประมวลความดีเด่นด้านเนื้อหาและวรรณศิลป์แล้ว
คำนมัสการคุณานุคุณจึงถือว่ามีความครบเครื่องในเรื่องคุณค่าทางวรรณกรรม
ควรแก่การท่องจำ เพื่อเป็ยเครื่องช่วยกำกับกาย วาจา ใจ
และเตือนสติให้ทุกคนโดยเฉพาะเยาวชนไทยได้สำนึกและน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ สมดังเจตนารมณ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร
ผู้ประพันคำนมัสการคุณานุคุณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น